ซีรี่ย์ไทย ในต่างแดน
1 min read
ช่วงที่ผ่านมา เราน่าจะได้เห็นซีรีย์ หรือละครไทยที่ไปดังในต่างประเทศหลายเรื่อง ซีรี่ย์ไทย ในต่างแดน เหล่านั้น ทำไมจึงมีกระแส ในต่างประเทศได้ ของไทยเราไปถูกจุดไหนของคนเหล่านั้นกัน วันนี้เราได้รวบรวมเอาแนวคิด ทฤษฎี และข้อมูลเกี่ยวกับ ซีรี่ย์ไทย ในต่างแดน มาให้ได้อ่านกันค่ะ
ขณะที่ ‘ละครไทย’ ยังคงมีภาพจำว่าย่ำอยู่กับแนวเดิมๆ มีพระเอก-นางเอกอยู่ไม่กี่แบบ นางร้ายยิ่งน้อยแบบและไม่พ้นต้องปากแดง แต่จนถึงปัจจุบัน ละครไทยได้แผ่ขยายกลุ่มผู้ชมออกไปกว้างขวางจนถึงต่างแดน หลายเรื่องนั้นจะบอกว่าเป็นปรากฏการณ์ก็ว่าได้

มีการศึกษเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดย ผศ.ดร. อัมพร จิรัฐติกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้จากเฟสแรกคือ ‘การศึกษาเรื่องการบริโภคละครไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาในพม่า กัมพูชา และเวียดนาม” มาจนถึงเฟสที่สองเรื่อง “การบริโภคละครไทยทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย” ที่พบว่าประเทศต่างๆ ทั้งหลายนี้ บริโภควัฒนธรรมสมัยนิยมของไทยในเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
ผศ.ดร.อัมพร เริ่มจากจุดนั้นแล้วจึงเริ่มทำวิจัยในเฟสแรกซึ่งเป็นเฟสของการศึกษาบริบทของละครไทยในประเทศเพื่อนบ้านก่อน เพื่อที่จะเข้าใจว่าผู้ชมในต่างวัฒนธรรมแปลความหมายของละครไทยอย่างไร พฤติกรรมธรรมดาอย่างการดูโทรทัศน์สามารถนำไปสู่ความเข้าใจว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนคิดเห็นและมีมุมมองต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะส่งเสริมนโยบายที่จะมีร่วมกันในเชิงสังคมและวัฒนธรรมได้ในอนาคต
ในขณะที่ประเด็นใหญ่อื่นๆ อย่าง ทำไมเกาหลีใต้ถึงประสบความสำเร็จในการส่งออกซีรี่ย์จนหลายประเทศติดกันงอมแงมก็อยู่ในขอบเขตของการวิจัยด้วย นอกจากนโยบายของรัฐบาลเกาหลีที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมชาติและไหลไปอยู่ในใจไทยทั่วหล้าและอาณาจักรอื่นๆ ได้ ยังมีความพีคในการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง การสร้างคาแรคเตอร์และเนื้อหาความเป็นสากลเพื่อส่งออกซีรี่ย์ที่เราเฝ้าดูอปป้า-อนนี่กันจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน
ถึงแม้ว่าละครไทยจะไม่ได้ตั้งใจจะไปฉายแสงในต่างประเทศเหมือนที่เกาหลีวางแผนเพราะเน้นขายตลาดในประเทศ แต่ในปัจจุบันที่มีช่องทางการเสพสื่อมากขึ้นกว่าเดิม อินเทอร์เน็ตเปิดน่านน้ำที่สำคัญให้ละครไทยมีเฉดที่หลากหลายมากขึ้นเพราะผู้ผลิตเริ่มเห็นว่าของมันขายได้แม้จะไม่ต้องผ่านโทรทัศน์โดยเฉพาะช่องหลัก (ที่มักมีกรอบความคิดแบบเดิมกำกับอยู่) การไหลข้ามพรมแดนของละครทางอินเทอร์เน็ตนี้จึงน่าสนใจ โดยเฉพาะเนื้อหาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงไปของบทบาทหญิง ชาย และการแสวงหาตัวตน ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในละครเนื้อหาแซบถึงทรวง
ในเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ตลาดละครไทยจะมีความหลากหลายมากขึ้นแค่ไหน บทละครไทยจะพัฒนาไปอีกไกลหรือเปล่า และละครไทยในยุคนี้จะสามารถส่งออก ‘ความเป็นไทย’ แบบร่วมสมัยไปสู่สากลได้หรือไม่ อย่างไร มาอ่านไปด้วยกันค่ะคุณผู้ชม
ละครไทยในสายตาของผู้รับชมในต่างแดน
จากการที่ได้ทำวิจัยในเวียดนาม กัมพูชา พม่า (ไม่รวมลาว เพราะคิดว่าลาวรับสื่อไทยตลอดเวลาอยู่แล้ว) ข้อค้นพบที่ได้ก็คือว่าประเทศเหล่านี้รับละครไทยหลายรูปแบบ มีทั้งผู้ชมที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่า ช่องทางการรับชมก็ทั้งแบบที่มีการนำเข้าอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ขณะที่ประเทศไทยได้กำไรจากการส่งออกไปฉายโทรทัศน์ในเวียดนาม กัมพูชา แล้วก็เริ่มไปในพม่าด้วยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีการดูแบบเถื่อนตลอดเวลาอยู่แล้ว
อย่างชาวไทใหญ่ในประเทศพม่าก็ดูละครไทยมาตลอด 20 ปี หรือในกัมพูชาและเวียดนามจะดูจาก VCD ที่อัดมาแล้วไปพากย์เอาเอง (dubbing) รวมทั้งช่องทางแบบไม่เป็นทางการอีกแบบหนึ่งคือการที่กลุ่ม Fansub (กลุ่มแฟนคลับในประเทศต่างๆ ที่แปลละครเป็นภาษาในประเทศของเขาเอง) เอาไปแปลเป็นภาษาต่างๆ มีทั้งคนที่ทำธุรกิจในประเทศต่างๆ เอาไปอัดเป็น VCD เถื่อนขายแล้วก็มีกลุ่มที่ไม่ได้ต้องการกำไรอะไร แต่ชื่นชอบนักแสดงในละครไทยเลยเอาไปแปลให้แฟนๆ ด้วยกันดู
จากเฟสแรกที่ทำนี้ เราค้นพบว่าคนเหล่านี้รับละครไทยเพราะเหตุผลของความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม (cultural proximity) ค่อนข้างเยอะ คนกัมพูชาชื่นชอบละครไทยมากเลย ถ้าช่วงไหนละครไทยหยุดออกอากาศนี่มีคนร้องไห้เลยนะ เหมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตน่ะ
เพราะอะไรละครไทยจึงเป็นที่นิยมในประเทศเพื่อนบ้าน
ระเทศเหล่านี้ไม่ผลิตคอนเทนต์ในประเทศของตัวเองมากนัก เพราะไม่ติดตลาด เทคโนโลยีหรือเทคนิคการผลิตยังไม่ทันสมัยพอเลยต้องใช้การนำเข้า พอนำเข้ามาในระยะเวลาหนึ่งก็จะชินกับรสนิยมแบบนี้ แล้วก็มีเรื่องของวัย ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม และรสนิยมด้วย
อย่างเช่นคนไทใหญ่จะมองว่าคนพม่า ไม่สวย อ้วน แต่คนไทยหุ่นดี สวยกว่าพม่า ผู้ผลิตในพม่าเองที่ผ่านมาก็มีผลิตแค่ซีรี่ย์สั้นๆ 5 ตอนจบ เวียดนามมีละครยาว แต่วงการละครของเวียดนามเพิ่งจะเริ่มพัฒนาขึ้นมา แล้วเขาบอกว่าแอ็คติ้งหรือเทคนิกต่างๆ ยังไม่ดี
ละครไทยกลายเป็นแหล่งความบันเทิงที่สำคัญที่สุดเพราะว่าผู้ชมเพื่อนบ้านดูของเกาหลีแล้วบอกว่าไม่ชอบ อย่างคนกัมพูชาบอกว่ามันไม่ชัดเจน เกาหลีเน้นการเก็บอารมณ์ไว้ในใจมากกว่า แต่ละครไทยมีการแสดงอารมณ์ที่ชัดเจน คือการแสดงออกทางสีหน้า ทางอารมณ์ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ร่วมที่เสพกันได้
ผู้รับชมในประเทศเพื่อนบ้านเข้าใจสารจากละครไทย เหมือนกันกับผู้ชมในไทยหรือไม่
คนดูในกัมพูชา เขาก็จะอ่านเรื่องได้ตรงเป๊ะเลยกับอุดมการณ์ที่เราใส่ลงไป เช่น เรื่องละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า ที่นุ่น วรนุชเล่น เขาก็ยังอ่านมันเป็นเรื่องของศีลธรรมจรรยาเลยว่าแม่ คือตัวละครลำยองนั้นไม่ดี แต่ลูกดีมากเลย สอนให้รู้ว่าความกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ดี หรือเรื่อง อย่าลืมฉัน ที่แอน ทองประสมเล่นกับติ๊ก เจษฎาภรณ์และก้อง สหรัฐ เป็นเรื่องรัก แต่คนกัมพูชาจะอ่านความหมายของมันแบบศีลธรรม ว่าสอนให้รู้ว่าผู้หญิงที่ดีต้องเป็นผู้หญิงที่ครองตัวอยู่ในความบริสุทธิ์เหมือนแอน คือถึงจะแต่งงานกับสามีแก่คราวพ่อเพื่อจะเลี้ยงดูลูกและใช้หนี้แทนพ่อแม่ตัวเอง แต่ยังคงมีความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรมมากๆ

หรือแม้กระทั่งเรื่อง สามีตีตรา ที่พลอย เฌอมาลย์ เล่นกับโป๊ป ธนวรรธน์ ก็ยังสอนเลยว่าของของเพื่อน หรือของคนอื่นไม่ต้องมาเอาเป็นของเรา คือมันมีการตีความในเชิงศีลธรรมที่เข้ากับการใส่รหัสของไทยค่อนข้างเยอะ คือการเล่าเรื่องความรักผ่าน ‘หญิงดี-หญิงไม่ดี’ น่ะ ซึ่งเราคิดว่าเป็นสิ่งที่เพื่อนบ้านซึมซับได้เยอะมาก แล้วอุดมการณ์นี้มันไม่เคยหายไป แม้กระทั่งเรื่อง บุพเพสันนิวาส คนจะมองว่าโห นี่ฉีกแนวมากเลย ร่วมสมัยมากที่ทำให้นางเอกเป็นคนฉลาด เป็นคนชิค แต่จริงๆ แล้วการที่การะเกดได้เข้าไปอยู่ในร่างของเกศศุรางค์ มันก็คือการเปลี่ยนหญิงร้ายให้กลายเป็นหญิงดี
ส่วนในพื้นที่ที่วัฒนธรรมไม่เหมือนกันมากนัก อย่างเวียดนามใต้ ก็จะรับละครไทยและชอบดูทุกแนว รับสารได้ค่อนข้างชัดเจน แต่ในกลุ่มผู้ชมรุ่นใหม่จะไม่ชื่นชอบละครไทยที่ตบตี เมียหลวงเมียน้อย ชิงรักหักสวาทอีกต่อไป อาจจะมีบ้างที่มาดูละครเหล่านี้เพราะดาราที่ตัวเองชอบเล่น เช่น มาริโอ เมาเร่อ ที่ดังมากๆ ถ้าเล่นเรื่องไหน เขาก็จะยังดูอยู่ถึงแม้จะเป็นละครดราม่า แต่ในจีนก็มีการปฏิเสธแพทเทิร์นแบบนี้โดยแปลงให้มันเป็นเรื่องตลกขบขัน เช่น จะมีคำกล่าวว่าดูละครไทยต้องไม่ใช้สมอง (หัวเราะ) เพราะว่าถ้าใช้สมองแล้วดูจะไม่เก็ตเลย หรือดูละครไทยแล้วสูญเสียสามัญสำนึก

ทำไมคนรุ่นใหม่ในอาเซียนถึงชื่นชอบซีรี่ย์ Y ของไทย
เรื่องชายรักชายเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างมากในจีน ไม่มีทางส่งออกแบบบนดินได้เลย ในฟิลิปปินส์ก็มีข้อห้ามทางศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิกที่บอกว่าชายรักชายเป็นเรื่องผิดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ในอินโดนีเซียก็เช่นเดียวกัน ในเวียดนามก็มีอุดมการณ์สังคมนิยมที่ต้องผลิตลูกเพื่อป้อนประเทศในเชิงเศรษฐกิจ จีนเองไม่ต้องพูดถึงเลย ทั้งรัฐทั้งสถาบันครอบครัว อุดมการณ์ขงจื้อ
ในประเทศเหล่านี้บริบทปลายทางยังโดนปิดกั้นอยู่มาก เพราะฉะนั้นที่ดูการที่พวกเขาดูละครไทย เลยย้อนดูสังคมปลายทางได้แบบหนึ่ง ว่าทำไมอุดมการณ์ที่ไม่ได้ถูกกำกับโดยรัฐมันถึงหลุดรอดและเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ เพราะฉะนั้นความรักของวัยรุ่นแบบนี้มันเป็นความรักแบบที่ไม่ได้ถูกผลิตซ้ำในกระแสหลัก เช่น คนจีนจะบอกว่าในละครจีนจะมีแต่เทพเซียน หรือสงครามที่ทำให้รักประเทศ เพราะฉะนั้นคนรุ่นใหม่ก็แสวงหาอะไรที่มันหลุดออกจากสิ่งที่รัฐอยากให้เขาเป็น

กระแส Y จุดไหนที่โดนใจคนรุ่นใหม่เหล่านี้
คนดูเหล่านี้ไม่ได้เป็น LGBT เป็นผู้หญิงที่ชอบผู้ชาย ผู้ชมที่เราสัมภาษณ์จะบอกว่าซีรี่ย์ Y ของไทยถูกใจคนทั่วเอเชียเลย แน่นอนว่าเรามี cute boy 2 คน ซึ่งมันใสมากน่ะ ประเด็นมันอยู่ที่ว่า Y ของไทยมันตอบโจทย์ที่มันขาดหายไปในซีรี่ย์ชายรักหญิง เพราะ หนึ่ง มันเป็นเรื่องของการแสวงหาตัวเอง ต่อสู้กับตัวเองและสังคมด้วย คือก่อนจะไปสู่การยอมรับ มันจะต้องผ่านการสับสนทางจิตใจน่ะว่าทำไมมีความรู้สึกพิเศษกับผู้ชายคนนี้ แล้วการต่อสู้นั้นมันเป็นการต่อสู้กับ identity ของตัวเองและสังคมคือต่อสู้ให้พ่อแม่พี่น้องยอมรับ และต่อสู้ว่าวันหนึ่งฉันพร้อมที่จะยอมรับตัวเองไหม
และอีกอย่าง ซีรี่ย์ Y ส่วนใหญ่ของไทยเป็นเรื่องในรั้วมหาวิทยาลัย คนจีนจะบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เราไม่มีเลย วัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้องแบบนี้ หรือในเรื่อง เดือนเกี้ยวเดือน คือดังมากๆ เลยนะ มีความผูกพันดูแลกัน ซึ่งเป็นชีวิตที่ค่อนข้างจะอิสระ หลุดออกจากกรอบหลายๆ อย่าง แล้วมันก็ตลก สนุก
และ สาวก Y ของไทยเริ่มต้นมาจากการ์ตูน และการ ship (การจับคู่ดาราชายชาย) คู่จิ้นของเกาหลี แต่ของไทยพอปรับมาเป็นซีรี่ย์ เนื่องจากผู้ชมส่วนใหญ่เป็นหญิงแท้ คุณจะสร้างใครให้ออกหญิงไม่ได้เด็ดขาด เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในซีรี่ส์จะใช้สรรพนาม กู มึง หรือจะให้ตัวละครเรียนคณะวิศวฯ มีการมอบเกียร์ ซึ่งเป็นคาแรคเตอร์มาสคิวลีนสุดๆ เลย
ซีรี่ย์ไทย ในต่างแดน นั้นได้รับความนิยมในกลุ่มอาเซียนมากว่า 2 ทศวรรษแล้ว
โดยการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล ยิ่งทำให้เกิดผู้ผลิตละครที่หลากหลากมากขึ้น เกิดละครหลายแนว มีผู้ผลิตรายใหม่ๆ หาช่องว่างทางการตลาด และหลากหลายแนวมากขึ้น ทำให้คนในหลายประเทศทั่วโลกก็มีช่องทางรับชมได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งละครไทย ไม่ได้มีเพียงสื่อทีวีดิจิทัล แต่ยังมีใน LINE TV และ Netflix อีกด้วยค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม : SSD ต่างจาก HDD อย่างไร
อ่านบทความเพิ่มเติม : หาเงินใช้ด้วยเกม Rise of Merlin Slot